ใครเป็นลูกหนี้ ออมสิน เฮ ประกาศข่าวดี
นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายเร่งรัดการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนในการช่วยเหลือประชาชนลดภาระหนี้ โดยเฉพาะผู้มีหนี้ที่เป็นกลุ่มเปราะบาง จึงมอบหมายให้ธนาคารออมสินช่วยเหลือลูกหนี้โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) ที่มีสถานะเป็นหนี้เสีย หรือ NPLs เพื่อไม่ให้เสียประวัติเครดิต และเข้าถึงการกู้เงินในระบบสถาบันการเงินได้เป็นปกติ ซึ่งที่ผ่านมาได้ทยอยจัดสรรงบประมาณชดเชยค่าเสียหายจากหนี้เสียให้ธนาคารมาชำระหนี้แทนลูกหนี้ โดยในปี 2567 ดำเนินการชำระหนี้แทนลูกหนี้แล้ว 2 ครั้ง ช่วยปลดหนี้ให้ลูกหนี้จำนวนกว่า 720,000 ราย
ล่าสุด ธนาคารออมสิน ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมจากรัฐบาล จึงดำเนินการชำระหนี้และปิดบัญชีให้ลูกหนี้เพิ่มเติมทันที อีกกว่า 110,000 ราย รวมดำเนินการทั้งสิ้น 3 ครั้ง สามารถปลดหนี้ให้ลูกหนี้ได้แล้วกว่า 830,000 ราย คิดเป็นมูลค่าเงินต้นรวมกว่า 5,800 ล้านบาท ทั้งนี้ ขอขอบคุณรัฐบาลที่ได้สนับสนุนงบประมาณให้ดำเนินการดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและกระทรวงการคลังที่ให้ธนาคารออมสินดำเนินงานโดยไม่เน้นกำไรสูงสุด มีกำไรในระดับที่เหมาะสม (Responsible Profit) และขยายการช่วยเหลือสังคมได้มากขึ้นในทุกมิติ
อนึ่ง มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้สถานะ NPLs ของโครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 66 ซึ่งเป็นการช่วยเหลือที่ดำเนินการเพียงครั้งเดียวเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เสียวินัยทางการเงิน โดยรัฐบาลมีนโยบายผลักดันการแก้ปัญหาหนี้ประชาชนทุกกลุ่มให้ประสบความสำเร็จและยั่งยืนเป็นวาระแห่งชาติ
TOP 4 อสังหาฯ ไทย ทำกำไรสูงสุด แสนสิริ โกยมากสุด ขณะ 14 บริษัท ขาดทุน สต๊อกรวมท่วม 6.3 แสนล้าน
- อันดับ 1 : แสนสิริ 3,110 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น)
- อันดับ 2 : เอพี 3,022 ล้านบาท (ลดลง)
- อันดับ 3 : ศุภาลัย 2,824 ล้านบาท (ลดลง)
- อันดับ 4 : แลนด์แอนด์เฮ้าส์ 2,806 ล้านบาท (ลดลง)
- อันดับ 5 : ออริจิ้น 1,915 ล้านบาท (ลดลง)
- อันดับ 6 : พฤกษา 1,730 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น)
- อันดับ 7 : คิวเฮ้าส์ 1,261 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น)
- อันดับ 8 : เอสซี แอสเสท 1,134 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น)
- อันดับ 9 : เฟรเซอร์ส 714 ล้านบาท (ลดลง)
- อันดับ 10 : แอสเซทไวส์ 531 ล้านบาท (ลดลง)
ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องจับตาดู คือ จำนวนสต๊อกที่อยู่อาศัยคงเหลือ และหน่วยที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างอีกเป็นจำนวนมาก โดยนับรวมจากทั้ง 38 บริษัท ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566 อยู่ที่ 638,860 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.96% จาก 626,535.06 ล้านบาท จากสิ้นไตรมาสแรกที่ผ่านมา สต๊อกมากสุด นำโดย บมจ.แสนสิริ, ศุภาลัย, เอพี, แลนด์แอนด์เฮ้าส์, เอสซีฯ และพฤกษา เป็นต้น