เฉลยชัดๆ “ดีเจเคนโด้” โพสต์แล้ว ปมพิธีกร ค. ลั่นเดือด สู้กลับแน่
วันที่ 29 ตุลาคม 2567 จากกรณีวิฑูรย์ เก่งงาน ทนายของบอสพอล ให้สัมภาษณ์ภายหลังเข้าเยี่ยมบอสพอลและโค้ชแล็ป โดยเผยว่าบอสพอลขอให้เอาผิด “พิธีกร ค.” พรีเซนเตอร์ก่อนกันต์ กันตถาวร ซึ่งได้รับผลประโยชน์และตอบแทนเหมือนบอสกันต์ ทำให้โซเชียลแห่เดาว่าพิธีกร ค. คือใคร แต่ล่าสุดไม่ต้องเดาแล้วเพราะเจ้าตัวได้ออกมาโพสต์ถึงเรื่องนี้เอง
เฉลยชัดๆ ดีเจเคนโด้ โพสต์แล้ว ปมพิธีกร ค. ลั่นเดือด สู้กลับแน่
ซึ่งหลังข่าวบอสพอลจ่อฟ้อง “พิธีกร ค.” บนเฟซบุ๊กเพจ “เคนโด้ช่วยด้วย” ของ ดีเจเคนโด้ ได้มีความเคลื่อนไหวทันที โดยโพสต์ข้อความดุเดือด ระบุ
เฉลยชัดๆ ดีเจเคนโด้ โพสต์แล้ว ปมพิธีกร ค. ลั่นเดือด สู้กลับแน่
คำชี้แจง ผมไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ
การที่จะนำเสนอข้อเท็จจริงใด ขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงนั้นเสียก่อนว่า จริงหรือไม่ อย่ามโน สิ่งที่ทนายพูดชื่อผมเข้าไปเกี่ยวข้องนั้น ทางตัวคนให้ข่าวก็รู้อยู่เต็มอกว่าความจริงคืออะไร ผมเข้าไปเกี่ยวข้องอย่างไร อย่าบิดเบือนความจริง สิ ซึ่งเรื่องนี้ทางผมได้ให้ข้อมูลกับทางพนักงานสอบสวนหมดแล้ว การที่นำชื่อผมมาเกี่ยวข้องซึ่งไม่เป็นความจริงแม้แต่น้อย ผมไม่ใช่พรีเซ็นเตอร์ มีนัยยะอะไร หรือครับ หากอะไรไร้ความจริง อะไรที่ทำให้ผมเสียหายตอนนี้ให้ทีมทนายเข้ามาดูแล อย่าทำทำโดยอารมณ์ โกรธเพราะผมไม่เข้าข้าง และไปให้ข้อมูลข้อมูลต่างๆสู่สาธารณะชน รึ ครับ
#เคนโด้ช่วยด้วย
เฉลยชัดๆ ดีเจเคนโด้ โพสต์แล้ว ปมพิธีกร ค. ลั่นเดือด สู้กลับแน่
และได้โพสต์อีกว่า
“เที่ยวฟาดงวงฟาดงาไปเรื่อย ตัวเองทำเอง กรรมคือผลของการกระทำ ผมรู้ไส้คุณหมดและให้การกับพนักงานสอบสวนแล้ว”
เฉลยชัดๆ ดีเจเคนโด้ โพสต์แล้ว ปมพิธีกร ค. ลั่นเดือด สู้กลับแน่
“ไล่ฟ้องทุกคน ผม พิธีกร ป และคนที่ตัวเองโกรธไม่มีน้ำหนักใดๆ พอคนถามถึง เมียบอสคนนึงที่ทำสายงานบอกไม่ใช่เป้าหมาย”
ขอบคุณ เคนโด้ช่วยด้วย
2 ยักษ์ใหญ่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย ที่ยืนหยัดเหนือกาลเวลา
อันดับ 1 ศุภาลัย อสังหาฯที่สร้างด้วย ปรัชญา บ้านที่ดี ตรงตามความต้องการของลูกค้า
ศุภาลัย หนึ่งในกลุ่มผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของไทยซึ่งก่อตั้งในปี 2532 อายุรวม 34 ปี โดย คุณ ประทีป ตั้งมติธรรม เริ่มประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในลักษณะเพื่อ เป็นที่อยู่อาศัยและเพื่อการพาณิชย์อย่างเป็นทางการโดยมีทุนจดทะเบียน 100,000,000 บาท
ผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 ศุภาลัย สามารถทำกำไรสุทธิได้ 2,781 ล้านบาท ทำให้อัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้นมากกว่าปีก่อนถึง 19.69 % มี มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดอยู่ที่ 35,936 ล้านบาท และมี สินทรัพย์รวม 84,683 ล้านบาท
ผลประกอบการของ ศุภาลัย เรียลเอสเตท
- ปี 2563 รายได้ 20,969 ล้านบาท กำไรสุทธิ 4,251ล้านบาท
- ปี 2564 รายได้ 29,647 ล้านบาท กำไรสุทธิ 7,070 ล้านบาท
- ปี 2565 รายได้ 35,500 ล้านบาท กำไรสุทธิ 8,173 ล้านบาท
- ปี 2566 รายได้ 14,345 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,781 ล้านบาท (งบ 6 เดือน2566)
ศุภาลัย ในระยะแรกได้ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการสร้างบ้านเดี่ยว และทาวน์เฮ้าส์ ในลักษณะโครงการบ้านจัดสรร ต่อมาจึงขยายธุรกิจสู่โครงการอาคาร ชุด อาคารสำนักงาน และรีสอร์ทโรงแรม โดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของบริษัทฯ
ปัจจุบันมีแบรนด์ ศุภาลัย มีโครงการบ้านและคอนโดมิเนียมที่เป็นที่รู้จักมากมาย เช่น ศุภาลัย ปาล์มวิลล์, ศุภาลัย วิลล์, ศุภาลัย เอเลแกนซ์, ศุภาลัย ไพร์ด, ศุภาลัย พรีโม่, ศุภาลัย ลอฟท์, ศุภาลัย ซิตี้โฮม,ศุภาลัย โอเรียนทัล เป็นต้น
อันดับ 2 พฤกษา อสังหาฯ ราคาประหยัด เติมเต็มฝันคนไทยที่อยากมีบ้าน
บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง (พฤกษา เรียลเอสเตท) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2531 อายุรวม 30 ปี ด้วยทุนจดทะเบียนเพียง 50 ล้านบาท ภายใต้การบริหารของ คุณ ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ ผู้ได้รับการขนานนามว่าเป็น “เจ้าพ่ออสังหาฯ เศรษฐีหุ้น”
ผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 พฤกษา สามารถทำกำไรสุทธิได้ 1,690 ล้านบาท ทำให้อัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้นมากกว่าปีก่อนถึง 0.77 % มี มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด อยู่ที่ 27,356 ล้านบาท และมี สินทรัพย์รวม 71,650 ล้านบาท
ผลประกอบการของ พฤกษา เรียลเอสเตท
- ปี 2563 รายได้ 29,512 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,770 ล้านบาท
- ปี 2564 รายได้ 28,430 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,352 ล้านบาท
- ปี 2565 รายได้ 28,640 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,772 ล้านบาท
- ปี 2566 รายได้ 13,665 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,690 ล้านบาท (งบ 6 เดือน2566)
พฤกษาเริ่มต้นจากการเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แนวราบราคาประหยัด มุ่งหวังช่วยให้คนไทยทุกคนมีบ้านเป็นของตนเอง โดยโครงการแรกอย่าง “บ้านพฤกษา 1” ย่านรังสิต คลอง 8 ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ปิดการขายภายในระยะเวลาเพียง 1 เดือนเศษ ส่งผลให้พฤกษากลายเป็นหนึ่งในบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของประเทศไทย
ปัจจุบันมีแบรนด์ พฤกษา มีโครงการบ้านและคอนโดมิเนียมที่เป็นที่รู้จักมากมาย เช่น บ้านพฤกษา , the connect , Passorn , the reserve ,the palm นอกจากการดำเนินธุรกิจแล้ว พฤกษายังให้ความสำคัญกับการทำกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ทั้งช่วยเหลือผู้ที่ขาดโอกาส รวมทั้งช่วย ปลูกป่าเพื่อสิ่งแวดล้อม พลิกฟื้นผืนป่า 1 แสนต้นในโครงการ “ร่วมปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศน์” สร้างสรรค์สังคม “อยู่ดี มีสุข” เป็นต้น
มูลค่าธุรกิจอสังหาฯคิดเป็น 10 % ของ GDP ประเทศไทย
จาก ศูนย์วิจัยกรุงศรี ประเมินว่า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยหากรวมธุรกิจที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานแล้ว จะมีมูลค่าตลาดคิดเป็นสัดส่วนกว่า 10% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ปี 2565 สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลไกต่างๆ ดังนี้
- สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ก่อให้เกิดการใช้จ่ายในหลายภาคส่วน ทั้งค่าที่ดิน ค่าก่อสร้าง ค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ค่าจ้างแรงงาน เป็นต้น
- สร้างงานและรายได้ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นภาคธุรกิจที่จ้างงานจำนวนมาก ทั้งในส่วนของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ผู้รับเหมาก่อสร้าง ช่างฝีมือ และพนักงานในภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
- เชื่อมโยงกับภาคธุรกิจอื่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เชื่อมโยงกับภาคธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทาน เช่น ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์และการตกแต่ง และธุรกิจสถาบันการเงิน
สถานการณ์ COVID-19 ทำให้เกิดวิกฤตอสังหาฯ ไทยซบเซา
จาก การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในปี 2563-2564 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อตลาดที่อยู่อาศัยไทย โดยเฉพาะใน 6 จังหวัดหลัก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ภูเก็ต ชลบุรี นครราชสีมา และขอนแก่น กิจกรรมทางเศรษฐกิจสะดุดลงโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ซึ่งส่งผลต่อรายได้และการจ้างงาน ทำให้ผู้ซื้อทั้งในและต่างประเทศชะลอการตัดสินใจซื้อ เลื่อน/ยกเลิกการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยจากความไม่มั่นใจสถานการณ์ในอนาคตและไม่สามารถเดินทางมาทำธุรกรรมได้
ผู้ประกอบการชะลอการเปิดโครงการใหม่และมีการปรับลดราคาบ้านเพื่อจูงใจผู้ซื้อ ส่งผลให้ตลาดบ้านแนวราบยังคงเติบโตได้ต่อเนื่องจากกลุ่มผู้ซื้อรายได้กลางบน-สูงซึ่งได้รับผลกระทบค่อนข้างน้อย
แต่ในปี 2565 ตลาดที่อยู่อาศัยกระเตื้องขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ได้แรงหนุนจากการฉีดวัคซีนครอบคลุมทั่วประเทศ ราคาสินค้าเกษตรที่ทรงตัวระดับสูงต่อเนื่อง ท่ามกลางเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป
อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลังๆ พฤกษาได้ปรับทิศทางการพัฒนาบ้านมาสู่ระดับกลางและระดับบนมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อมากขึ้น รวมถึงการขยายตลาดไปสู่กลุ่มคอนโดมิเนียมไฮเอนด์อย่าง เดอะ รีเซิร์ฟ