พ.ย.67 นี้ ได้ข้อสรุป เงิน 10,000 บาท เฟส 2 ผู้ลงทะเบียนแล้ว – รอลงทะเบียน
คืบหน้าเงิน 10,000 บาท ดิจิทัลวอลเล็ต สำหรับเฟส 2 ที่กำลังรอความชัดเจน ล่าสุดรัฐบาลเผยความคืบหน้า กำลังจะมีการเรียกประชุมคณะกรรมการโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือนพฤศจิกายน 2567 โดยกลุ่มเป้าหมายในเฟส 2 นี้ ก็คือ ผู้ไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและไม่ใช่ผู้พิการ หลักๆ คือประชาชน 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
1.ผู้เคยลงทะเบียนผ่านแอปฯ ทางรัฐ
2.กลุ่มไม่มีสมาร์ตโฟน ที่รอลงทะเบียน
ผู้ลงทะเบียนแล้ว – รอลงทะเบียน รับเงิน 10,000
สำหรับกลุ่มผู้ที่เคยลงทะเบียนผ่านแอปฯ ทางรัฐแล้ว เพียงรอการประกาศผล ขณะกลุ่มพิเศษไม่มีสมาร์ตโฟน ขณะนี้ให้รอมติที่ประชุม ซึ่งหลังจากนั้นรัฐบาลจะมีการแจ้งไทม์ไลน์การเปิดรับลงทะเบียนต่อไป
ทั้งนี้ มีรายงานว่า ที่ประชุมจะมีการสรุปแนวทางการจ่ายเงิน ซึ่งจะพิจารณาว่าจะจ่ายก้อนเดียว 10,000 บาท หรือแบ่งเป็น 5,000 บาท 2 รอบ และจะได้รับเป็นเงินสด หรือ ดิจิทัลวอลเล็ต ต้องรอข้อสรุปจากคณะกรรมการฯ โดย นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง ยืนยันรัฐบาลเดินหน้าต่อแน่นอน โดยได้จัดเตรียมงบประมาณไว้เรียบร้อยแล้ว
กลุ่มตกหล่น เงิน 10,000 เฟส 1
ขณะความคืบหน้าของกลุ่มเปราะบาง เงิน 10,000 บาท เฟสแรก ซึ่งมีการโอนรอบเก็บตกครั้งที่ 1 ไปเมื่อวันที่ 21 ต.ค.ที่ผ่านมา ปรากฏว่า ยังโอนไม่สำเร็จอีกกว่า 64,892 คน แบ่งเป็น คนพิการกว่า 5,000 คน ที่เหลือเกือบ 60,000 คน เป็นผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
กระทรวงการคลังได้ย้ำเตือนจะมีการโอนซ้ำครั้งถัดไป ใน วันที่ 21 พ.ย.67 และ วันที่ 19 ธ.ค. 67 ขอให้ผู้ที่ยังไม่ได้รับเงิน 10,000 บาท เนื่องจากปัญหายังไม่ได้ผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขประจำตัวประชาชน บัญชีไม่มีการเคลื่อนไหว บัญชีเงินฝากธนาคารถูกปิด และเลขบัญชีเงินฝากธนาคารไม่ถูกต้อง ในจำนวนนี้รวมถึงกรณีผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่มีบัตรประจำตัวคนพิการด้วยแต่บัตรประจำตัวคนพิการหมดอายุและยังไม่ได้ต่ออายุบัตร ให้รีบดำเนินการให้เรียบร้อย เนื่องจากหากพ้นกำหนดการ Retry โอนซ้ำครั้งที่ 3 แล้ว จะยุติการจ่ายเงินให้แก่กลุ่มเป้าหมาย และถือว่ากลุ่มเป้าหมายไม่ประสงค์รับเงินภายใต้โครงการฯ
ช่องทางตรวจสอบสิทธิรับเงิน 10,000 บาท
ผู้ที่ได้รับสิทธิ สามารถเช็กสถานะการจ่ายเงิน 10,000 บาท ผ่านแอปฯ ทางรัฐ ได้ โดยสามารถตรวจสอบการจ่ายเงินได้ในวันถัดไป หลังจากวันที่จ่ายเงินให้กับผู้มีสิทธิ ตามช่องทางดังนี้
-เว็บไซต์โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ 2567: govwelfare.cgd.go.th (สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ)
-เว็บไซต์กรมบัญชีกลาง: govwelfare.dep.go.th/check (สำหรับคนพิการ)
-แอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” ดาวน์โหลดใน Google Play Store และ App Store
-แอปพลิเคชัน “รัฐจ่าย” ดาวน์โหลดใน Google Play Store และ App Store
-ศูนย์บริการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ: โทร 0 2109 2345 กด 1 กด 5 (บริการ 24 ชั่
3 อันดับ รถ Toyota รุ่นไหนดี ปี 2024 ระบบธรรมดา และ Hybrid
เลือกรถยนต์ Toyota ให้เหมาะกับการใช้งาน
ในปัจจุบัน มีรถยนต์จาก Toyota วางจำหน่ายอยู่ 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และรถยนต์อเนกประสงค์ค่ะ ซึ่งแต่ละประเภทจะมีรถยนต์รุ่นใดอยู่บ้าง และมีจุดเด่นในเรื่องอะไรบ้างนั้น เราไปดูรายละเอียดพร้อมกันเลยค่ะ
รถยนต์นั่งส่วนบุคคล
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลของ Toyota จัดอยู่ในประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง (รย.) ซึ่งเป็นประเภทที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยมีจุดเด่น คือ มีขนาดกำลังดี ไม่เล็กเกินไปสำหรับครอบครัวขนาดกลางที่มีสมาชิกไม่เกิน 5 คน และไม่ใหญ่เกินไปจนขาดความคล่องตัวสำหรับการขับขี่ในตัวเมือง รวมทั้งสามารถเลือกขนาดเครื่องยนต์ให้เหมาะสมกับการใช้งานได้ โดยมีตั้งแต่ 92 แรงม้า ในรุ่น Yaris ATIV และ Yaris จนถึง 387 แรงม้าในรถสปอร์ต รุ่น GR Supra
โดยรถยนต์นั่งส่วนบุคคลของ Toyota มีหลากหลายประเภทด้วยกัน ได้แก่ Sedan 4 ประตู, Hatchback 5 ประตู, CUV, SUV และรถสปอร์ต ซึ่งประกอบด้วยรถยนต์ 8 รุ่นด้วยกัน ได้แก่ รุ่น Yaris ATIV, Yaris, Vios, Altis, C-HR, Corolla Cross, CAMRY และ GR Supra คุณจึงสามารถเลือกประเภท ขนาดตัวถัง และขนาดเครื่องยนต์ที่ตรงกับความชื่นชอบและการใช้งานได้ค่ะ
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์คือ รถยนต์สำหรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ เช่น การขนส่งสินค้า หรือรับ-ส่งผู้โดยสาร ซึ่งรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ของ Toyota ประกอบด้วยรถยนต์ทั้งหมด 6 รุ่นด้วยกัน ได้แก่ Hilux Revo Standard Cab, Hilux Revo Prerunner & 4×4, Hilux Revo Z Edition, Hilux Revo Rocco, Commuter และ Hiace
โดยสำหรับรถยนต์รุ่น Hilux เป็นรถกระบะ สามารถจุผู้โดยสารได้ 2 – 5 คน ส่วน Commuter และ Hiace เป็นรถตู้ สามารถจุผู้โดยสารได้มากสุด 17 คนค่ะ นอกจากนี้ เนื่องจากเป็นรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ที่มักถูกใช้ในการวิ่งระยะทางไกล จึงมีความทนทานและมีกำลังในการวิ่งสูง ซึ่งในรุ่น Hilux จะมีกำลังสูงสุดอยู่ที่ 150 แรงม้า รุ่น Commuter มีกำลังสูงสุดอยู่ที่ 163 แรงม้า และ Hiace มีกำลังสูงสุดอยู่ที่ 177 แรงม้าค่ะ
รถยนต์อเนกประสงค์
รถยนต์อเนกประสงค์มีขนาดตัวถังค่อนข้างใหญ่และมีจำนวนที่นั่งหลายที่นั่ง จึงสามารถจุผู้โดยสารได้เป็นจำนวนมาก ทั้งยังสามารถพับเบาะเพื่อเพิ่มพื้นที่บรรทุกสัมภาระได้ จึงเป็นรถยนต์ที่คุณสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างอเนกประสงค์ทั้งการรับ-ส่งผู้โดยสาร และการบรรทุกสัมภาระตามชื่อของรถเลยค่ะ นอกจากนี้ รถยนต์ประเภทนี้ ยังมีช่วงล่างสูง เกาะถนนได้ดี จึงให้ความรู้สึกนุ่มนวลขณะขับขี่ และยังช่วยให้คุณเดินทางไปบนเส้นทางขรุขระอย่างถนน Off-Road ได้อีกด้วยค่ะ
โดยรถยนต์อเนกประสงค์จาก Toyota มีทั้งหมด 7 รุ่นด้วยกัน ได้แก่ Avanza, Sienta, Innova Crysta, Fortuner, Majesty, Alphard และ Coaster โดยรุ่น Avanza, Sienta, Innova Crysta และ Fortuner สามารถจุผู้โดยสารได้จำนวน 7 ที่นั่ง รุ่น Alphard สามารถจุผู้โดยสารได้จำนวน 8 ที่นั่ง รุ่น Majesty สามารถจุผู้โดยสารได้จำนวน 11 ที่นั่ง และรุ่น Coaster ซึ่งเป็นรถมินิบัส สามารถจุผู้โดยสารได้มากถึง 20 ที่นั่งค่ะ
เลือกรถยนต์ Toyota จากระบบการทำงานของเครื่องยนต์
อันดับต่อไป เรามาดูระบบการทำงานของเครื่องยนต์รถยนต์ Toyota กันนะคะ โดยผู้เขียนขอแบ่งระบบการทำงานของเครื่องยนต์เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ระบบธรรมดา และระบบ Hybrid ค่ะ สำหรับรถยนต์เครื่องยนต์ระบบธรรมดาของ Toyota มี 3 แบบด้วยกัน คือ 3 สูบ, 4 สูบ และ 6 สูบ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องยนต์แบบ 4 สูบ มีเพียงรุ่น Toyota GR Yaris ปี 2020 และรถสปอร์ตเท่านั้น ที่ใช้เครื่องยนต์ 3 สูบ และ 6 สูบ โดยจุดเด่นของเครื่องยนต์ 4 สูบ คือ เครื่องยนต์มีความเสถียรสูง เดินเครื่องได้เรียบ และมีกำลังเครื่องดีค่ะ
ส่วนสำหรับระบบ Hybrid ของ Toyota ทำงานโดยการผสานพลังของมอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องยนต์เบนซินเข้าด้วยกัน โดยมีแบตเตอรี่ช่วยส่งพลังงานเสริมให้กับมอเตอร์ไฟฟ้า จึงช่วยให้เครื่องยนต์มีกำลังสูง อัตราเร่งดี ไม่แพ้เครื่องยนต์ระบบธรรมดาเลยค่ะ นอกจากนี้ ยังมีจุดเรื่องการประหยัดน้ำมัน ซึ่งในรุ่น CAMRY สามารถช่วยคุณประหยัดน้ำมันได้มากถึง 25 กิโลเมตรต่อลิตร ทั้งยังหมดปัญหาเรื่องเสียงดังรบกวนจากเครื่องยนต์ เพราะขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าอีกด้วยค่ะ
ตรวจสอบบริการหลังการขายของ Toyota
นอกจากวัตถุประสงค์การใช้งานและสมรรถนะของเครื่องยนต์แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เราขอแนะนำให้ตรวจสอบด้วยคือบริการหลังการขายของ Toyota ซึ่งบริการหลังการขายหลัก ๆ ของ Toyota มีดังนี้ค่ะ
- บริการเช็กระยะทันใจพลัส (EM Plus) เช็กระบบเครื่องยนต์, ระบบส่งกำลัง, ระบบเบรก, ระบบรองรับ, ระบบบังคับเลี้ยว, ระบบไฟฟ้าแสงสว่างรถยนต์ และระบบปรับอากาศ ตามระยะมาตรฐาน คือ ทุก ๆ 10,000 กิโลเมตร และ 40,000 กิโลเมตร
- บริการเปลี่ยนอะไหล่ตามระยะทาง บริการเปลี่ยนอะไหล่ตามระยะทางของรถยนต์แต่ละรุ่น มีให้เลือกตั้งแต่ 10,000 – 100,000 กิโลเมตร
- โตโยต้าสมาร์ทพลัส เป็นโปรแกรมสำหรับใช้เป็นส่วนลดในการเข้ารับบริการงานซ่อมทั่วไป งานตัวถัง และงานสีของศูนย์บริการโตโยต้าทั่วประเทศ โดยมี 4 แพ็กเกจให้เลือกด้วยกัน ได้แก่ แพ็กเกจอุ่นใจ, สบายใจ, เบาใจ และสุขใจ
- โตโยต้าสมาร์ทแพลน เป็นแพ็คเกจเช็กระยะ เพื่อช่วยให้คุณวางแผนการเช็กระยะในอนาคต รวมทั้งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้สูงสุดถึง 25% โดยมี 3 แพ็กเกจให้เลือกด้วยกัน ได้แก่ Plan 15, Plan 20 และ Plan 25
- บริการซ่อมตัวถังและสี บริการดูแลเรื่องตัวถังและสี รับประกันงานซ่อมสีและชิ้นงานอะไหล่ 12 เดือนหลังการซ่อม
การตรวจสอบบริการหลังการขายก่อนซื้อ นอกจากจะช่วยให้คุณทราบว่าต้องนำรถไปเข้าศูนย์บริการเมื่อไหร่แล้ว ยังช่วยประหยัดเวลา เพราะคุณสามารถเลือกแพ็กเกจเสริมล่วงหน้าจากที่บ้าน และซื้อแพ็กเกจพร้อมกับรถได้ทันทีเลยค่ะ